เราคือ ตัวแทนของท่าน ช่วยประสานงานกับด่านศุลกากรต่างๆ และมีชิปปิ้งประจำด่านนั้นๆ (โดยเฉพาะ ด่านอมตะซิตี้ ระยอง เรามีสำนักงานสาขาอยู่ที่ด่าน เพราะ โรงงานส่วนใหญ่ที่นี้ใช้บริการของเราเป็นประจำ )ให้บริการ จัดทำเอกสาร ใบขนสินค้าทั้งขาเข้า-ขาออก และผ่านพิธีการศุลกากร แบบมืออาชีพ รวดเร็ว ถูกต้อง ค่าบริการถูก                                                                                                                                                                                                                                                                           
 






 




 

 อัตราแลกเปลี่ยนของกรมศุลกากร


 

 

         ศุลกากร  

 ศูนย์บริการศุลกากร

  ค้นหาพิกัดศุลกากร

    E-TRACKING


ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์


ติดต่อ ท๊อป ซัคเซสส์

02-7303005#201

565 สุขุมวิท93 บางจาก

พระโขนง กรุงเทพฯ

  

E-mail 

[email protected]

 
 สถิติวันนี้ 33 คน
 สถิติเมื่อวาน 30 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1511 คน
32658 คน
811758 คน
เริ่มเมื่อ 2012-11-07

                            FTA

FTA – ข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดย ลดภาษีนำเข้า ส่วนใหญ่ลดเหลือ 0%  โดยใช้ข้อกำหนด ถิ่นประเทศกำเนิด ขายไปให้กับ ประเทศหรือกลุ่มประเทศคู่สัญญาจะได้ลดภาษี ด้วยความเสมอภาค ต่างตอบแทน เท่าเทียมกัน

ข้อกำหนดถิ่นประเทศกำเนิด ที่จะได้สิทธิ์คือ

1.วัตถุดิบมาจากในประเทศและผลิตจนสำเร็จในประเทศ จะสามารถใช้สิทธิ์ถิ่นกำเนิดได้

2.วัตถุดิบจากต่างประเทศนอกกลุ่มสัญญา FTA นำเข้ามาผลิตแต่เมื่อคำนวณต้นทุนในราคา FOB แล้วในประเทศผู้ผลิตมีมูลค่าต้นทุนเกิน 40% หรือ นำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแล้วใช้กฎการเปลียนพิกัด ตามกำหนดเช่น มีการเปลียนพิกัด 2 หลัก 4 หลัก 6 หลัก จะสามารถใช้สิทธิ์ถิ่นกำเนิดได้

3.นำเข้าสินค้าสำเร็จรูปจากประเทศในกลุ่ม FTA มาขายต่อประเทศในกลุ่ม FTA จะสามารถใช้สิทธิ์ถิ่นกำเนิดได้

4.ประเทศนอกกลุ่ม FTA ที่เป็นนายหน้าหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์สินค้า (ประเทศที่ 3) สามารถขายสินค้าโดยสั่งให้ประเทศที่ผลิตสินค้า ที่อยู่ในกลุ่มสัญญา FTA ส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าที่อยู่ใน กลุ่ม FTA ด้วยกัน ถ้าสินค้านั้นเป็น สินค้าที่ได้สิทธิ์กำเนิด สินค้านั้น จะสามารถใช้สิทธิ์ถิ่นกำเนิดได้

ปัจจุบันไทยทำ FTA แล้วมี 10 FTA คือ

1.อาเซียน(CEPT-AFTA)

2.อาเซียน-จีน (ACFTA)

3.อาเซียน-ญี่ปุ่น

4.อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA)

5.อาเซียน-อินเดีย (AIFTA)

6.อาเซียน-เกาหลี (AKFTA)

7.ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)

8.ไทย-นิวซีแลนด์ (NZTCEPA)

9.ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA)

10.ไทย-อินเดีย (ITFTA)

ถ้าเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน ทำกับ คู่สัญญา จะมีส่วนลดมากกว่าและเป็นที่นิยมใช้มากกว่า

เช่น อาเซียน-จีน , อาเซียน-ญี่ปุ่น , อาเซียน-ออสเตรเลีย , อาเซียน-อินเดีย , อาเซียน-เกาหลี

และจะมีเพิ่มอีก เช่น ไทย เปรู , USD

ก่อนใช้ต้องตรวจสอบก่อนว่าสินค้ามีสิทธิ์หรือไม่ ดูแค่มี หนังสือรับรองประเทศกำเนิดไม่พอ ต้องดูกฎเกณฑ์ จากประกาศกระทรวงการคลัง , ประกาศกรมศุลกากร , ประเทศที่ออกหนังสือรับรองเก็บภาษีนำเข้าไทยเกิน 20% หรือไม่   และเริ่มต้น ตรวจสอบ PSR  ,  GENERAL RULES ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่บังคับหรือไม่

วิธีใช้ ปัจุบันเอกสารประกอบการนำเข้า-ส่งออก ส่วนใหญ่ต้องมีเอกสาร

1ใบรับรองถิ่นกำเนิดมาแสดง เช่น FORM E , FORM AK , FROM D เป็นต้น (ต่อไปจะมีวิธีรับรองถิ่นกำเนิดได้โดยผู้ส่งออกรับรองเอง)

2.เอกสารประกอบการนำเข้า-ส่งออกตามปกติ เช่น INVOICE , PACKING , B/L

ถ้าเวลานำเข้าถ้ายังไม่มี FORM ส่วนใหญ่สามารถ สงวนสิทธิ์เสียภาษีตามปกติ เพื่อวางประกัน ออกของไปก่อนแล้วมาขอคืนภายหลังได้ เมื่อได้ FORM   ตัวจริงมา


∞ ตรวจสอบก่อนใช้ สิทธิ ลดภาษี

เกี่ยวกับ FTA กลุ่มประเทศ อาเซียน 10 ประเทศ  

♠ นโยบายและมาตรการการเปิดตลาดสินค้าเกษตรภายใต้ AFTA

♠ประกาศกรมศุลกากร ที่ ๙๙/๒๕๕๓ เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการการยกเว้นอากรอาเซียน

 

เกี่ยวกับ FTA กลุ่มประเทศ อาเซียน-จีน

 ประกาศหลักเกณฑ์พิธีการ อาเซียน-จีน


คลิ๊กนี้มีความหมาย

Copyright (c) 2009 by topsuccess.co.,ltd