ศุลกากรแต่ละด่านมีระเบียบกฎเกณฑ์ข้อบังคับแตกต่างกัน เพราะปัญหาการนำเข้า-ส่งออกไม่เหมือนกัน และมีข้อยกเว้นเฉพาะของตัวเอง |
ชิปปิ้งกำลังติดต่อกับศุลกากร |
สำนักงาน ท๊อป ซัคเซสส์
บริษัท ท๊อป ซัคเซสส์ เราเป็นชิปปิ้ง (ตัวแทนออกของ)มีสำนักงานและเจ้าหน้าที่ประจำที่ด่านอมตะซิตี้ ระยอง เราเริ่มดำเนินการตั้งแต่ที่ด่านศุลกากรนี้เปิดดำเนินการจึงมีความชำนาญในการดำเนินการด้านเอกสารและการผ่านพิธีการที่ด่านอมตะซิตี้ (ระยอง) มากพร้อมทั้งให้บริการทำรายงานการนำเข้า-ส่งออกสินค้าในเขตฟรีโซนต่อศุลกากร - ตัดบัญชีคืนอากรในระบบ 19ทวิ - BOI - คลังสินค้าทัณฑ์บน - EPZ ด้วยระบบ PAPERLESS ผ่านเครื่อง COMPUTER ของเราเอง พร้อมรถขนสินค้าทุกชนิดด้วยความรวดเร็วและถูกต้องที่สำคัญ ค่าบริการไม่แพง
| |
เจ้าหน้าที่ของเรากำลังทำใบขน |
ด่านศุลกากรอมตะซิตี รถของเราประจำด่านอมตะซิตี้
#############################################################
หน่วยงาน ข้อมูลความรู้และประกาศของศุลกากรที่เกี่ยวกับเขตปลอดอากร(ฟรีโซน)
เขตปลอดอากร
เขตปลอดอากร คืออะไร
การนำของออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช่ในราชอาณาจักร
ส่วนบริการคลังสินค้าทัณฑ์บนและเขตปลอดอากร สนง.ศุลกากรกรุงเทพ
เรื่องระเบียบปฎิบัติเกี่ยวกับเขตปลอดอากรว่าด้วยการควบคุมขนย้ายจากท่าเรื่อที่ที่นำเข้า
วิธีการคำนวนสัดส่วนการใช้วัตถุดิบและระเบียบพิธีการตาม ม.12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตรา
การส่งของในเขตปลอดอากรไปนอกราชอาณาจักรทางไปรษณีย์และการส่งตัวอย่างไปนอก เขตปลอดอากร (Free Zone - FZ) เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการประเภทหนึ่งของกรมศุลกากรไทย หมายถึง เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ กล่าวคือ เครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของของดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าหากได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อนำเข้าในเขตปลอดอากร รวมถึงของที่ปล่อยออกมาจากเขตปลอดอากรอื่น
นอกจากนั้น ยังยกเว้นอากรขาออก สำหรับของที่ปล่อยไปจากเขตปลอดอากร เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร แล้วยังยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปในเขตปลอดอากร อีกทั้งใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร เฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออก หรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร รวมถึงยกเว้นภาษีสรรพสามิต สำหรับการนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากร ยกเว้นภาษีสุรา การปิดแสตมป์ และค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายยาสูบ และกฎหมายว่าด้วยไพร่ สำหรับการนำเข้า และการผลิตที่กระทำในเขตปลอดอากร
การนำของเข้ามาในราชอาณาจักร หรือการนำวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร เพื่อผลิต ผสมประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดกับของนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ของนั้นได้รับ ยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐาน หรือคุณภาพ การประทับตรา หรือเครื่องหมายใดๆ แก่ของนั้น ขณะที่ของใดกฎหมายบัญญัติให้ได้รับยกเว้น หรือคืนเงินอากรเมื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร หากนำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากร ให้ได้รับยกเว้น หรือคืนเงินอากร โดยให้ถือว่าของนั้นได้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรในเวลาที่นำของนั้นเข้าไปในเขตปลอดอากร นอกจากนั้น การนำของออกจากเขตปลอดอากรเพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราชอาณาจักร หรือเพื่อโอนเข้าไปในคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือจำหน่ายให้แก่ผู้นำของเข้าตามมาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 หรือผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร หรือกฎหมายอื่น ให้ถือว่า เป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือนำเข้าสำเร็จในเวลาที่นำของเช่นว่านั้นออกจากเขตปลอดอากร ซึ่งในกรณีนี้ การนำของในเขตปลอดอากรไปใช้เพื่อการบริโภค หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตปลอดอากร ให้ถือว่าเป็นการนำของออกจากเขตปลอดอากร เพื่อใช้หรือจำหน่ายภายในราชอาณาจักร เว้นแต่จะเป็นการกำจัด หรือทำลายเศษวัสดุ ของที่เสียหาย ของที่ใช้ไม่ได้ หรือของที่ไม่ได้ใช้ ซึ่งอยู่ภายในเขตปลอดอากรโดยได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศุลกากร
นอกจากนั้น ของที่ปล่อยจากเขตปลอดอากรเพื่อนำเข้ามาในราชอาณาจักร ให้คำนวณค่าภาษีตามสภาพของ ราคาของ และพิกัดอัตราศุลกากรที่เป็นอยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของเช่นว่านั้นออกไปจากเขตปลอดอากร แต่กรณีที่นำของที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร โดยของที่นำเข้าไปนั้นไม่มีสิทธิได้รับคืน หรือยกเว้นอากร ไม่ต้องขอดังกล่าวมาคำนวณค่าภาษี แล้วยังยกเว้นอากรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำของภายในประเทศ หรือของนำเข้าที่ได้ชำระอากรแล้ว ซึ่งไม่มีสิทธิ์ได้รับการคืน หรือยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร หรือกฎหมายอื่น เข้ามาผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดในเขตปลอดอากร โดยไม่มีส่วนของของในเขตปลอดอากรอยู่ในผลิตภัณฑ์นั้น และนำมาจำหน่าย หรือบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งได้รับการลดอัตราอากรสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำวัตถุดิบเข้ามาผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดในเขตปลอดอากร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนำวัตถุดิบเข้ามาผลิต ผสม หรือประกอบในเขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zone) ซึ่งนำมาจำหน่าย หรือบริโภคภายในประเทศ ให้ลดอัตราอากรลงเหลือเท่ากับอัตราที่ได้ให้สิทธิพิเศษแก่ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของแต่ละประเทศที่นำเข้า
ผู้ขอจัดตั้งเขตปลอดอากรต้องมีคุณสมบัติด้วยเช่นกัน โดยเป็นรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากประสงค์จัดตั้งเขตปลอดอากรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท แต่หากอยู่ในเขตพื้นที่อื่น ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท หรือมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในจำนวนที่อธิบดีกรมศุลกากรเห็นว่าเหมาะสมกับประเภทของกิจการ และเป็นกิจการที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง อีกทั้งต้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง หรือเป็นผู้มีสิทธิบริหารจัดการในที่ดินหรือพื้นที่ที่ขอจัดตั้ง แล้วยังต้องไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิดอย่างร้ายแรงตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรย้อนหลัง 3 ปีนับแต่วันยื่นคำขอ
เอกสารประกอบการยื่นคำขอจัดตั้งเขตปลอดอากรต่อกรมศุลกากร ประกอบด้วย คำขอจัดตั้งเขตปลอดอากร สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนก่อนวันยื่นคำขอ สำเนาใบทะเบียนภีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) งบการเงินพร้อมรายงานของผู้สอบบัญชี ย้อนหลัง 3 ปี สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือหนังสืออนุญาตให้มีสิทธิในการบริหารจัดการในที่ดิน หรือพื้นที่ที่ขอจัดตั้ง แผนที่โดยสังเขป หนังสือรับรองการก่อสร้าง และการจัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์สำนักงาน สิ่งอำนวยความสะดวก และสาธารณูปโภคที่จำเป็น รายละเอียดโครงการจัดตั้งเขตปลอดอากร อย่างละ 2 ชุด ซึ่งประกอบด้วย โครงการ-วัตถุประสงค์-ประเภทกิจการ แผนงาน-แผนการบริหารจัดการ แผนการเงิน-แหล่งเงินทุน-ขนาดการลงทุน แผนการขาย-ให้เช่า-ให้เช่าซื้อ แผนการดูแลรักษาสาธารณูปโภค-บริการสาธารณะ โครงการที่จะขยายได้ในอนาคต (ถ้ามี) และอื่นๆ โดยเอกสารทั้งหมดจัดทำสำเนา 1 ชุด ยกเว้น แผนที่โดยสังเขป ให้จัดทำสำเนา 2 ชุด เอกสารต้นฉบับ และสำเนาทุกแผ่นให้ผู้มำอำนาจลงนาม และประทับตราบริษัท
กรณีผู้ขอจัดตั้งเขตปลอดอากรเพื่อประกอบการอุตสาหกรรมให้ยื่นสำเนาหนังสืออนุญาตให้เป็นเขตประกอบอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมประเภทอาคารโรงงานเอกเทศจากกระทรวงอุตสาหกรรม หรือสำเนาหนังสืออนุญาตจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้ใช้พื้นที่ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป หรือสำเนาบัตรส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการเขตอุตสาหกรรม หรือกิจการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ หรือกิจการเขตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ หรือสำเนาหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองสำหรับอุตสาหกรรมอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม กรณีที่พื้นที่ที่ขอจัดตั้งมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่ก่อนแล้ว ให้แสดงหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองให้ประกอบการตามที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถึงปัจจุบันมีผู้ขอจัดตั้งเขตปลอดอากรมากมาย เรียกว่า เกือบทุกนิคม/เขตอุตสาหกรรม รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เช่น เขตปลอดอากรนวนคร เขตปลอดอากรอมตะนคร เขตปลอดอากรอีสเทิร์นซีบอร์ด เขตปลอดอากรไฮเทค (บ้านหว้า) เขตปลอดอากรครัวการบินไทย เขตปลอดอากรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เขตปลอดอากร BMW เขตปลอดอากรฟูจิตสึประเทศไทย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดานิคม/เขตอุตสาหกรรมยิ่งจำเป็นต้องจัดตั้งเป็นเขตปลอดอากร เพื่ออำนวยประโยชน์ให้ผู้ประกอบการในนิคม/เขตอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นลูกค้าของตน ขณะเดียวกันก็เป็นทางเลือกสำคัญของผู้ประกอบการที่สืบหาพื้นที่ในการประกอบธุรกิจ หากนิคม/เขตอุตสาหกรรมนั้นเป็นเขตปลอดอากร ผู้ประกอบการที่มีการวางแผนทางธุรกิจที่ดีย่อมตัดสินใจเลือกมากกว่าแน่นอน ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรจึงจำเป็นต้องมีคุณสมบัติด้วย โดยเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย มีฐานะการเงินมั่นคง มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือพื้นที่ที่ขอประกอบการในเขตปลอดอากร หากไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็สามารถขอผ่อนผันต่ออธิบดีกรมศุลกากร ซึ่งจะอนุมัติให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วยังต้องได้รับความยินยอมจากผู้ได้รับอนุมัติจัดตั้งเขตปลอดอากร ข้อสำคัญต้องประกอบการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตปลอดอากร รวมทั้งต้องไม่เคยมีประวัติการกระทำความผิดร้ายแรงตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร ย้อนหลัง 3 ปีนับแต่วันยื่นคำขอ
ผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากรก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ประกอบด้วย ต้องมีเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบควบคุมบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ (Inventory Control) เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกของคงเหลือ เชื่อมโยงระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange - EDI) ตามที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วยังต้องมีการพัฒนาปรับปรุงระบบตามที่กรมศุลกากรกำหนด ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และค่าเสียหายทั้งปวง สำหรับของที่สูญหาย หรือถูกทำลายในระหว่างการเคลื่อนย้ายเข้าไปใน หรือออกจากเขตปลอดอากร หรือในขณะที่อยู่ในเขตปลอดอากร ไม่ว่าจะเกิดจากการกระทำของบุคคลใด และไม่ว่าโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ อีกทั้งต้องอำนวยความสำดวกเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ระเบียบ คำสั่ง และประกาศกรมศุลกากรโดยเคร่งครัด
เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำขอเป็นผู้ประกอบกิจการในเขตปลอดอากร ทำนองเดียวกับการขอจัดตั้งเขตปลอดอากร เพิ่มหนังสือยินยอมจากผู้ได้รับอนุมัติจัดตั้งเขตปลอดอากร แบบแปลนแผนผังสถานที่ตั้งสถานประกอบกิจการในเขตปลอดอากร และรายละเอียดการขอประกอบกิจการในเขตปลอดอากร ซึ่งประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ประเภทของกิจการ แผนงานและกระบวนการผลิต และแหล่งเงินทุน เอกสารทั้งหมดต้องการสำเนา 1 ชุด ยกเว้นแบบแปลนแผนผังต้องการสำเนา 2 ชุด โดยต้นฉบับ และสำเนาทุกแผ่นให้ผู้มีอำนาจลงนาม และประทับตราบริษัท
ระบบควบคุมในเขตปลอดอากรมีความยืดหยุ่น และอำนวยความสะดวกในการประกอบการสูง ควบคุมโดยใช้รั้ว มีประตูเข้าออกที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถควบคุมการเข้า-ออกได้ ไม่ต้องมีสูตรการผลิต ไม่มี Stock Control ไม่มีเงื่อนเวลาในการส่งออก ไม่ต้องวางเงินหรือหลักทรัพย์ใดๆ เพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากร ไม่ต้องขอคืนอากร ค่าธรรมเนียมสำหรับผู้จัดตั้งเขตปลอดอากรแห่งละ 300,000 บาทต่อปี เก็บปีต่อปีตามปีปฏิทิน ทั้งคำขอจัดตั้งเขตปลอดอากร และคำขอประกอบการในเขตปลอดอากร พร้อมเอกสารประกอบ ให้ยื่นที่ส่วนหลักเกณฑ์สิทธิประโยชน์ สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร
สิทธิประโยชน์ภายใต้เขตปลอดอากรส่งผลต่อต้นทุนของสินค้า หรือบริการ สืบเนื่องไปถึงยอดจำหน่าย และความสามารถในการแข่งขันประกอบธุรกิจ ซึ่งทุกกิจการที่มีการวางแผนบริหารจัดการธุรกิจที่ดีไม่สามารถมองข้าม ผู้สนใจสามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ส่วนหลักเกณฑ์สิทธิประโยชน์ สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรมศุลกากร ที่ 0 -2240 -2514-6 , สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8163 (ข้อมูลจาก mgronline.com) ศึกษาระบบและวิธีการผ่านพิธรการศุลกากรได้ ระบบผ่านพิธีการใบขน เพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องตามระเบียบศุลกากร รายละเอียดต่าง ตามนี้
|